กว่าจะมาเป็นชุดนักเรียนอย่างทุกวันนี้ มีประวัติมาอย่างยาวนาน แล้วกลายเป็นส่วนนึงของสังคมไทย😊

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก teen.mthai.com

ทราบกันหรือไม่คะว่า เครื่องแบบนักเรียน หรือ ชุดนักเรียนไทย ที่เราสวมใส่กันทุกคนนั้น มีต้นกำเนิด ที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์มากๆ โดยประเทศไทยได้เริ่มมีชุดนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๘๒

ต้นกำเนิด ชุดนักเรียนไทย ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ (2)

ต้นกำเนิด ชุดนักเรียนไทย ที่หลายคนอาจยังไม่รู้

ในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พุทธศักราช 2482 และได้มีการแบ่งเป็นชุดนักเรียนชาย นักเรียนหญิง ดังนี้

 

ชุดนักเรียนชายไทย เครื่องแบบประกอบด้วย

  • หมวกฟาง มีผ้าพันหมวกสีตามสีประจำโรงเรียน ติดอักษรย่อนามโรงเรียนที่หน้าหมวก
  • เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง
  • กางเกงไทย (กางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่เรียกว่า กางเกงขาสั้นในสมัยก่อน คือ กางเกงรูเซีย เป็นกางเกงทรงกระบอกยาวถึงใต้เข่ารวบชายรัดไว้ใต้เข่า) สีดำ
  • ถุงเท้าขาว หรือดำ
  • รองเท้าดำ
  • ถุงเท้า รองเท้า เป็นของราคาแพง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกคน ส่วนใหญ่ไม่มีใช้

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖

กำหนดให้นักเรียนในหัวเมืองใช้เสือราชปะแตนสีเทา แทนเสื้อขาวได้ด้วย (เสื้อเทาเป็นเครื่องแบบสำหรับเดินป่า ข้าราชการในกรุงเมื่อออกไปหัวเมืองให้ใช้เสื้อเดินป่าสีเทา แทนเสื้อขาว เพราะรักษาความสะอาดง่ายกว่า ปัจจุบันยังคงมีข้าราชการสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการที่ยังคงรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ เมื่อต้องไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัดจะเปลี่ยนเสื้อเป็นสีกากีทั้งหมด)

ต่อมาในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการจัดตั้งยุวชนทหาร และกำหนดให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๔ (เทียบกับปัจจุบันคือ ชั้น ม.๒ ขึ้นไป) ต้องเป็นยุวชนทหาร นักเรียนตั้งแต่ชั้นม.๔ ขึ้นไปจึงแต่งเครื่องแบบยุวชนทหารแทน

เครื่องแบบนักเรียน คือ

  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากีแกมเขียว หน้าหมวกเป็นโลหะมีอุณาโลมอยู่กลาง มีตัวอักษรว่า รักชาติยิ่งชีพ
  • เสื้อเชิ้ตสีกากีแกมเขียว
  • กางเกงขาสั้นสีกากีแกมเขียว
  • ถุงเท้าดำ รองเท้าดำ

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผ้าขาดแคลน มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบนักเรียนเป็น

  • หมวกกะโล่สีขาว
  • เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว ปักอักษรย่อนามจังหวัดพร้อมหมายเลขประจำโรงเรียนด้วยไหมสีน้ำเงิน โรงเรียนราษฎร์หรือสมัยนี้เรียกว่า โรงเรียนเอกชนปักสีแดง เช่น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ใช้ ช.ม.๑ (ขึ้นต้นเลขที่ ๑ คือ โรงเรียนชายประจำจังหวัด แล้วต่อด้วยเลข ๒ โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด แล้วจึงต่อด้วยเลข ๓ โรงเรียนประจำอำเภอ ต่อด้วยโรงเรียนประชาบาลไปจนครบทั้งจังหวัด)
  • กางเกงขาสั้นสีกากี เข็มขัดหนังสีน้ำตาล
  • ถุงเท้าน้ำตาล รองเท้าน้ำตาล มีก็ได้ไม่มีก็ได้

มีบางโรงเรียนที่มีเครื่องแบบพิเศษ เช่น โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือ วชิราวุธวิทยาลัย) โรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือ โรงเรียน -.ป.ร.ราชวิทยาลัย) โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ โรงเรียนพรานหลวง ใช้เครื่องแต่งกายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนัก ร.ศ. ๑๒๙ ประกอบด้วย

  • หมวกหนีบสักหลาดสีน้ำเงินแก่ ติดตราพระมหามงกุฎเงินที่ขวาหมวก กับมีดุมพระมหามงกุฎเงินที่หน้าหมวก ๒ ดุม
  • เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมพระมหามงกุฎเงิน ติดแผ่นคอพื้นน้ำเงินแก่มีแถบไหมเงินพาดกลาง กับมีอักษรย่อนามโรงเรียนทำด้วยเงิน ม.(มหาดเล็กหลวง) ร. (ราชวิทยาลัย) ช. (มหาดเล็กหลวงเชียงใหม่) และ พ. (พรานหลวง) ทับกึ่งกลางแผ่นคอทั้งสองข้าง
  • กางเกงไทยสีน้ำเงินแก่
  • ถุงเท้าดำ รองเท้าดำ
  • เวลาเล่าเรียนปกติในโรงเรียนสวมเสื้อคอกลมผ้าป่านสีขาว ที่เรียกว่าเสื้อชั้นใน สวมกางเกงขาสั้น

เนื่องจากในช่วงแรกที่เริ่มวางรากฐานการศึกษาชาตินั้น มุ่งเน้นจัดการศึกษาสำหรับเด็กชาย การศึกษาสตรีจึงมาเริ่มเอาตอนปลายรัชกาลที่ ๕ แต่ก็ค่อยๆ เริ่มจัด จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงมีการจัดหลักสูตรสำหรับสตรีขึ้นเป็นการเฉพาะ และได้เริ่มมีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้น จึงเริ่มมีเครื่องแบบนักเรียนหญิง แต่ต้องขอประทานที่จำรูปแบบเสื้อไม่ได้ นุ่งผ้าซิ่นสีพื้น และต่อมามีกำหนดให้ติดเข็มอักษรย่อนามโรงเรียน เช่น โรงเรียนสตรีวัฒโนทัยพายัพ ติดเข็มอักษร ว พ ในวงกลม

ต้นกำเนิด ชุดนักเรียนไทย ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ (1)
ต้นกำเนิด ชุดนักเรียนไทย ที่หลายคนอาจยังไม่รู้

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงปรับเปลี่ยนมาใช้ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

เครื่องแบบนักเรียนเป็นเครื่องแบบสำหรับนักเรียน ใช้ในสถาบันการศึกษา ใช้กันมากในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยการแต่งเครื่องแบบนักเรียนมีพื้นฐานมาจากการแต่งตัวให้เข้ากับกาลเทศะของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เครื่องแบบของนักเรียนชายส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกางเกงขาสั้นหรือขายาวสีดำและเสื้อเชิ้ตสีขาวและอาจมีเนคไทด้วย ส่วนเครื่องแบบของนักเรียนหญิง ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยเสื้อครึ่งตัวและกระโปรง ในบางประเทศอนุญาตให้นักเรียนหญิงใส่กางเกงขายาว การใช้เสื้อสูทเหมือนเสื้อแจ็กเกตทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายนั้นถือเป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะในประเทศที่อากาศหนาว ในขณะที่บางประเทศมีเครื่องแบบนักเรียนที่เป็นมาตรฐานให้ใช้สำหรับทุกโรงเรียน และบางประเทศมีเครื่องแบบนักเรียนแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน ในหลายโรงเรียนก็มีการจัดทำเข็มหรือตราสัญลักษณ์ติดหน้าอกด้วย

ปัจจุบันเครื่องแบบนักเรียนไทย มีรูปแบบการแต่งกายของผู้เข้าศึกษาในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง

โรงเรียนรัฐบาล

นักเรียนชาย

เสื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่มีสาบหลัง มีกระเป๋าเสื้อที่หน้าอกด้านซ้าย ปักอักษรย่อหรือสัญลักษณ์ของโรงเรียนที่หน้าอกซ้ายและชื่อหรือตัวเลขประจำตัวนักเรียนที่หน้าอกขวา ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินหรือสีแดงในการปัก

กางเกงและเข็มขัด มี 3 แบบ คือ กางเกงขาสั้นสีกากี คู่กับเข็มขัดหนังสีน้ำตาล กางเกงขาสั้น สีดำคู่กับเข็มขัดหนังสีดำหรือน้ำตาล สีน้ำเงินคู่กับเข็มขัดสีดำหรือสีน้ำตาล ในปัจจุบัน โรงเรียนที่ใช้กางเกงนักเรียนสีกากีส่วนใหญ่อยู่นอกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร

รองเท้าและถุงเท้า มี 2 แบบ คือ กางเกงน้ำตาล ต้องสั้นกว่าเข่าอย่างน้อย 3-4นิ้ว จะใช้รองเท้าและถุงเท้าสีน้ำตาล อีกแบบคือใช้ถุงเท้าสีขาว คู่กับรองเท้าผ้าหรือหนังสีดำ


ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1846 ได้ปรากฏภาพเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดของอังกฤษ โอรสพระราชินีวิคตอเรียทรงแต่งชุดกะลาสีเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ ชุดดังกล่าวต่อมากลายเป็นที่นิยมของเด็กๆ ทั่วโลก จากนั้นมีการนำชุดกะลาสีไปเป็นแบบฟอร์มของนักเรียนในสหรัฐอเมริกาและแพร่ขยายต่อไปยังเยอรมนี ญี่ปุ่นและประเทศไทย ฯลฯ” แม้ชุดนักเรียนของไทยได้รับอิทธิพลจากต่างชาติไม่ตรงเป๊ะๆ แต่ก็ใกล้เคียง ในระดับชั้นประถมปลายจนถึง ม.ต้น จะสวมเสื้อคอปกใหญ่ๆ แล้วผูกคอซอง  รวมถึงเด็กๆ ในครอบครัวชนชั้นสูงสมัยก่อน มักจะเห็นสวมเสื้อแบบกะลาสีเรืออยู่บ่อยๆ

ในรูปคือ อเล็กเซย์ โรมานอฟ

นักเรียนหญิง

เสื้อนักเรียนชั้นประถมศึกษา ใช้เสื้อคอปกบัวสีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนไม่มีจีบ ปล่อยชายเสื้อ เช่นเดียวกันกับนักเรียนโรงเรียนสาธิต

เสื้อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เสื้อคอปกกะลาสี สีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนมีจีบและกระดุม ผูกโบสีกรมท่าใต้ปกเสื้อ ปล่อยชายเสื้อ

เสื้อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เสื้อคอเปิดสีกากีแกมเขียว หรือเสื้อสนามคอเปิดสีกากีแกมเขียว สอดชายเสื้อไว้ในกระโปรง คาดทับด้วยเข็มขัดหนังสีดำ

ปักอักษรย่อของโรงเรียนที่หน้าอกขวาและชื่อนักเรียนที่หน้าอกซ้าย ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินปัก

กระโปรง เป็นกระโปรงสีกรมท่า มีจีบด้านหน้า 6 จีบ และด้านหลัง 6 จีบ (เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น)

กางเกง เป็นกางเกงขายาวสีกากีแกมเขียวแบบฝึก หรือกางเกงสนามขายาวสีกากีแกมเขียว (เฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย)

รองเท้าและถุงเท้า รองเท้าหนังสีดำ ถุงเท้าสีขาว (เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น) และ รองเท้าสูงครึ่งน่องหนังสีดำ หรือรองเท้าเดินป่า (เฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย)

 

โรงเรียนเอกชน

นักเรียนชาย

ขึ้นอยู่กับการกำหนดหรือระเบียบของโรงเรียนนั้น ๆ ส่วนมากมักใช้เสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงินหรือสีดำ โดยต้องสั้นเหนือเข่าประมาณ 3-4นิ้ว บางโรงเรียนจะให้ใส่สั้นกว่านี้ด้วย และจะมีบางโรงเรียนที่ใช้เสื้อเชิ้ตเป็นสีอื่น หรือใช้กางเกงขายาว เช่นโรงเรียนนานาชาติ เป็นต้น

นักเรียนหญิง

ขึ้นอยู่กับการกำหนดของโรงเรียน โดยโรงเรียนส่วนใหญ่มักเลือกใช้เสื้อกับกระโปรง แต่บางโรงเรียนใช้เสื้อแขนยาวแทน